รู้เท่าทันสื่อ
การรู้เท่าทันสื่อ
หมายถึง การอ่านสื่อให้ออกเพื่อพัฒนาทักษะในการเข้าถึงสื่อ การวิเคราะห์สื่อ
การตีความเนื้อหาของสื่อ การประเมินค่าและเข้าใจผลกระทบของสื่อ
รวมถึงความสามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ได้ การรู้เท่าทันสื่อ Media literacy เป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
และมีการระบุในยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านสื่อสารมวลชนขององค์การ UNESCO ซึ่งอยู่ในกรอบแนวคิดเรื่อง
“การส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกและการเสริมสร้างสมรรถนะในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน”
โดยมีหลักการหนึ่งระบุไว้ว่าด้วย “การยกระดับการรู้เท่าทันสื่อให้ส่งขึ้น”
"รู้เท่าทันสื่อ"
คือ ทักษะ หรือความสามารถในการ "ใช้สื่ออย่างรู้ตัว" และ "การใช้สื่ออย่างตื่นตัว"
คำว่า
"การใช้สื่ออย่างรู้ตัว" สามารถอธิบายหรือขยายความได้ว่า
- - สามารถตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อ
- - สามารถโต้ตอบกับมันได้อย่างมีสติและรู้ตัว
- - สามารถตั้งคำถามว่าสื่ิถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร เช่น
ใครเป็นเจ้าของสื่อ ใครผลิต และผลิตภายใต้ข้อจำกัดใด ควรเชื่อหรือไม่
หรือมีค่านิยมความเชื่ออะไรที่แฝงมากับสื่อนั้น พวกที่ผลิตสื่อหวังผลอะไรจากเรา
คำว่า
"การใช้สื่ออย่างตื่นตัว" สามารถอธิบายหรือขยายความได้ว่า
- - แทนที่เราจะเป็นฝ่ายตั้งรับอย่างเดียว
เราก็จะต้องเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรุกบ้าง โดยการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม
เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เข้าถึงสื่อที่หลากหลายและมีคุณภาพ
- - สามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ มีส่วนร่วมที่พัฒนาสื่อต่างๆ
ให้ดีขึ้น เช่น ท้วงติงหรือร้องเรียนเมื่อพบสื่อที่ไม่เหมาะสม
เรียกร้องสิทธิในฐานะเป็นผู้บริโภคสื่อ ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น