การเขียนบรรณานุกรม
บรรณานุกรม คือ รายชื่อหนังสือเอกสาร
สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งโสตทัศนวัสดุ และสื่ออีเล็กทรอนิกส์
ที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียนรายงาน โดยเรียงตามลำดับอักษรไว้ท้ายเรื่อง
จุดมุ่งหมายในการเขียนบรรณานุกรม
1.
ทำให้รายงานนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล มีสาระน่าเชื่อถือ
2. เป็นการเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่นจึงนำมาอ้างไว้
3. เป็นแนวทางสำคัญสำหรับผู้สนใจต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยศึกษาได้จากบรรณานุกรมนั้น ๆ
4. สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างได้
2. เป็นการเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่นจึงนำมาอ้างไว้
3. เป็นแนวทางสำคัญสำหรับผู้สนใจต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยศึกษาได้จากบรรณานุกรมนั้น ๆ
4. สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างได้
วิธีเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลจากหน้าปกใน
และด้านหลังของหน้าปกใน ของหนังสือเล่มที่บันทึกข้อมูลมาเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรมจากวารสาร นำข้อมูลจากหน้าปก
ของวารสารฉบับที่บันทึกข้อมูล มาเขียนบรรณานุกรม และการเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือพิมพ์
นำข้อมูลจากหน้าแรกของหนังสือพิมพ์มาเขียนบรรณานุกรม และการเขียนบรรณานุกรมจากสื่ออีเล็กทรอนิกส์
นำข้อมูลจากหน้าแรกของเว็บเพจมาเขียนบรรณานุกรม ดังนี้
1.
เขียนไว้ในส่วนท้ายของรายงาน
2. เขียนเรียงลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ในกรณีที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เขียนบรรณานุกรมภาษาไทยก่อน
3. บรรทัดแรกของบรรณานุกรมชิดด้านซ้ายที่เว้นจากขอบกระดาษเข้ามา 1.5 นิ้ว ถ้ายังไม่จบ เมื่อขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเข้ามาประมาณ 7 ช่วงตัวอักษรของบรรทัดแรก ให้เขียนตรงกับช่วงตัวอักษรที่ 8
2. เขียนเรียงลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ในกรณีที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เขียนบรรณานุกรมภาษาไทยก่อน
3. บรรทัดแรกของบรรณานุกรมชิดด้านซ้ายที่เว้นจากขอบกระดาษเข้ามา 1.5 นิ้ว ถ้ายังไม่จบ เมื่อขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเข้ามาประมาณ 7 ช่วงตัวอักษรของบรรทัดแรก ให้เขียนตรงกับช่วงตัวอักษรที่ 8
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น